อีคอมเมิร์ซ คืออะไร?
ข้อมูลที่คุณต้องรู้ก่อนทำเว็บอีคอมเมิร์ซ
ในปัจจุบันการซื้อสินค้าและบริการบนเว็บไซต์ของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของทุกคน ความจำเป็นที่เราต้องพาสินค้าและบริการของเราเข้าสู่โลกออนไลน์ และการใช้ระบบอีคอมเมิร์ซคือเครื่องมือสำคัญ ที่จะทำให้เราจัดการการสั่งซื้อแบบออนไลน์ได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้เราสามารถอยู่ในการแข่งขันในตลาดได้อย่างยั่งยืนในยุคดิจิตอล บทความนี้จะทำให้คุณเข้าใจว่าทำไมต้องทำเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ e-commerce คืออะไร? รวมไปถึงข้อดี ข้อเสีย และหลักการพัฒนา เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจของคุณ
อีคอมเมิร์ซ คืออะไร?
อีคอมเมิร์ซ คือโมเดลธุรกิจที่มีกิจกรรมอยู่บนอินเตอร์เน็ต ร้านค้าที่เปิดขายสินค้าและบริการอยู่บนโลกออนไลน์จัดว่าเป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ ยกตัวอย่างเช่น Amazon.com ซึ่งเป็นหนึ่งในร้านค้าออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ
ไทม์ไลน์ประวัติอีคอมเมิร์ซ
- 1969 เริ่มก่อตั้ง CompuServe
- 1979 Michael Aldrich คิดค้นการซื้อสินค้าออนไลน์
- 1982 Boston Computer Exchange เปิดให้บริการ
- 1992 Book Stacks Unlimited เปิดให้บริการเป็นตลาดขายหนังสือออนไลน์เจ้าแรก
- 1994 Netscape Navigator เปิดให้บริการในรูปแบบ Web browser
- 1995 Amazon เปิดให้บริการ
- 1998 PayPal เปิดให้บริการในรูปแบบระบบการชำระเงินของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
- 1999 Alibaba เปิดให้บริการ
- 2000 Google เริ่มเปิดให้บริการ Google Adwords
- 2004 Shopify เปิดให้บริการ
- 2005 Amazon เปิดให้สมัครสมาชิก Amazon Prime
- 2009 BigCommerce เปิดให้บริการ
- 2011
- Google Wallet เปิดให้บริการในรูปแบบช่องทางการชำระเงินดิจิตอล
- Facebook เริ่มเปิดให้ใช้งานการซื้อโฆษณา
- Stripe เปิดให้บริการ
- 2014
- Apple Pay เปิดให้บริการในรูปแบบช่องทางการชำระเงินผ่านมือถือ
- Jet.com เปิดให้บริการ
- 2017 ประกาศใช้งาน การซื้อขายสินค้าผ่าน Instagram
- 2020 สถานการณ์ Covid-19 ส่งผลให้ธุรกิจ อีคอมเมิร์ซเติบโตเร็วยิ่งขึ้น
สถิติอีคอมเมิร์ซ
- ในปี 2021 ตลาดอีคอมเมิร์ซทั่วโลกมีเงินหมุนเวียนสูงถึง 4.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐโดยประมาณ
- ในปี 2018 กว่า 50% ของผู้บริโภคสั่งซื้อสินค้าด้วยโทรศัพท์มือถือมากกว่าในร้านค้า ด้วยเหตุนี้ร้านค้าต่าง ๆ จึงต้องปรับปรุงเว็บไซต์และโฆษณาให้เหมาะกับโทรศัพท์มือถือมากยิ่งขึ้น
- ผู้หญิงมีสัดส่วนการซื้อของออนไลน์ที่บ่อยกว่าผู้ชาย ทุก ๆ 10 เหรียญสหรัฐจะเป็นเงินจากผู้หญิง 6 เหรียญและจากผู้ชาย 4 เหรียญเท่านั้น
- กลุ่มคนอายุ 18-34 ปี มีแนวโน้มจะซื้อสินค้าออนไลน์มากกว่ากลุ่มคนที่มีอายุมากกว่า กลุ่มนี้คือกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดในตลาดออนไลน์ซึ่งคิดเป็น 38.4% ของกลุ่มผู้บริโภคสินค้าออนไลน์ทั้งหมด
ธุรกิจอีคอมเมิร์ซคืออะไร
ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ คือ ตัวแทนบุคคลหรือองค์กรที่มองหากำไรจากสินค้าและบริการบนโลกอินเตอร์เน็ต ธุรกิจอีคอมเมิร์ซจะนำเสนอช่องทางการทำธุรกรรมออนไลน์ที่หลากหลาย ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมีอยู่หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับโมเดลธุรกิจ
ประเภทของอีคอมเมิร์ซ
1. ธุรกิจกับผู้บริโภค (ฺB2C)
อีคอมเมิร์ซแบบ B2C คือธุรกิจที่มุ่งเน้นในการทำธุรกรรมระหว่างธุรกิจกับผู้บริโภค ซึ่งเป็นโมเดลธุรกิจที่นิยมที่สุดในตลาดอีคอมเมิร์ซ ตัวอย่างเช่น การซื้อรองเท้าผ่านช่องทางออนไลน์
2.ธุรกิจกับธุรกิจ (ฺB2B)
อีคอมเมิร์ซแบบ B2B มุ่งเน้นไปที่การซื้อขายระหว่างบริษัท อย่างเช่นโรงงานกับร้านค้า จะไม่มีตัวผู้บริโภคเข้ามาเกี่ยวข้อง
3. ผู้บริโภคกับผู้บริโภค (ฺC2C)
C2C คือรูปแบบอีคอมเมิร์ซแบบแรก ๆ ที่เกิดขึ้นในโลก เป็นรูปแบบการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการของผู้บริโภคกับผู้บริโภค อย่างเช่น Ebay และ Amazon
4. ผู้บริโภคโดยตรง (ฺD2C)
D2C คือรูปแบบโมเดลธุรกิจใหม่ที่ส่งสินค้าตรงที่ผู้โภคได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านหน้าร้านหรือตัวแทนจำหน่าย ยกตัวอย่าง เช่น Netflix
5. ผู้บริโภคกับธุรกิจ (ฺC2B)
C2B คือรูปแบบย้อนกลับของการซื้อขายแบบดั้งเดิม หรือก็คือการที่ผู้บริโภคสร้างสินค้าขึ้นมาเพื่อจำหน่ายให้บริษัทโดยเฉพาะ ตัวอย่างเช่น iStock ที่เป็นร้านขายรูปภาพออนไลน์
6. ธุรกิจกับหน่วยงานรัฐ (ฺB2A)
B2A รูปแบบการทำธุรกรรมที่ธุรกิจทำกับภาครัฐ ตัวอย่างเช่น การดำเนินเอกสารทางกฎหมายหรือประกันสังคมต่าง ๆ
7. ผู้บริโภคกับหน่วยงานรัฐ (ฺC2A)
C2A มีความใกล้เคียงกับ B2A แต่เปลี่ยนจากบริษัทเป็นตัวบุคคลแทน คือรูปแบบของธุรกรรมที่บุคคลทำกับภาครัฐ ยกตัวอย่างเช่น การเสียภาษีออนไลน์
ตัวอย่างอีคอมเมิร์ซ
แน่นอนว่าเมื่อเริ่มธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ต้องมีของที่จะขายก่อน แต่ก็ไม่ได้เหมือนกับฝั่งธุรกิจแบบดั้งเดิม อีคอมเมิร์ซมีสินค้าที่สามารถนำมาขายได้มากกว่า มาดูกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้างที่สามารถนำมาขายออนไลน์ได้
- สินค้าทั่วไป
ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า ของตกแต่งบ้านหรือสินค้าอิเล็กทรอนิก ทั้งหมดนี้เป็นสินค้าที่สามารถนำมาขายออนไลน์ได้ โดยส่วนมากแล้วสินค้าเหล่านี้จะถูกจำหน่ายโดยธุรกิจที่มีโมเดลแบบ B2C หรือ D2C แต่ก็อาจจะมี B2B บางธุรกิจที่ขายสินค้าแบบจับต้องได้เช่นกัน
- สินค้าดิจิทัล
สินค้าดิจิทัลไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของดิจิทัลไฟล์ เทมเพลตต่าง ๆ คอร์สเรียนออนไลน์ ภาพวาด ภาพกราฟิก เพลง หรือแม้กระทั่งอินโฟกราฟิกก็สามารถนำมาขายแบบออนไลน์ได้
- บริการ
บริการต่าง ๆ ที่ใช้ทักษะเฉพาะทาง อย่างเช่นนักเขียนฟรีแลนซ์ การตลาดแบบอินฟลูเอนเซอร์ หรือ โค้ชออนไลน์ ก็สามารถนำมาแลกเปลี่ยนเป็นเงินผ่านทาง อีคอมเมิร์ซได้เช่นกัน
การตลาดอีคอมเมิร์ซ คืออะไร?
การตลาดแบบอีคอมเมิร์ซ คือกระบวนการในการเพิ่มยอดขายให้กับร้านค้าบนโลกออนไลน์ ผ่านทางแพลตฟอร์มออนไลน์ สามารถเป็นได้ทั้งเพิ่มการรับรู้แบรนด์ แคมเปญต่าง ๆ โฆษณา หรือ โปรโมชั่นลดราคา
ข้อดีของการทำการตลาดแบบอีคอมเมิร์ซคือการที่องค์ความรู้ทั้งหมดอยู่บนโลกออนไลน์ ทุกคนสามารถทำการตลาดในรูปแบบนี้ได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีงบประมาณมหาศาล และยังเข้าถึงดาต้าของลูกค้าได้แบบแม่นยำมากขึ้น
อิทธิพลของอีคอมเมิร์ซ
อิทธิพลของอีคอมเมิร์ซขยายเป็นวงกว้าง และส่งผลกระทบต่อธุรกิจในทุก ๆ ขนาด มาดูกันดีกว่า ว่ามีผลกระทบอะไรบ้าง
- ร้านค้าขนาดใหญ่ถูกบังคับให้ต้องขายออนไลน์
ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2019 ยอดขายออนไลน์แซงยอดขายหน้าร้านขึ้นมาได้เป็นครั้งแรก และยิ่งไปกว่านั้นเมื่อ Amazon Prime ช่วยลูกค้าประหยัดค่าขนส่งไปได้อีก ทำให้ห้างร้านขนาดใหญ่ต่าง ๆ ต้องปรับตัวเข้าสู่ตลาดออนไลน์
- อีคอมเมิร์ซช่วยให้ธุรกิจเล็ก ๆ สามารถขายสินค้าตรงสู่ผู้บริโภคได้
สำหรับธุรกิจเล็ก ๆ การเปลี่ยนเข้าสู่โลกออนไลน์ทันทีอาจทำได้ยาก แต่สำหรับบางธุรกิจก็ได้รับโอกาสใหม่จากอีคอมเมิร์ซ ในการเพิ่มการเข้าถึงของลูกค้าในกลุ่มคนที่ชอบการสั่งซื้อสินค้าต่าง ๆ ผ่านออนไลน์ได้
- ธุรกิจแบบ B2B ต้องเริ่มปรับตัวเพื่อแข่งขันกับ B2C
90% ของธุรกิจแบบ B2B ต้องเริ่มโฟกัสในเรื่องการพัฒนาประสบการณ์ที่ดีของลูกค้าออนไลน์เพื่อทำการแข่งขันกับธุรกิจแบบ B2C โดยเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายและสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้ามากยิ่งขึ้น
- ร้านค้าออนไลน์เพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้น
ร้านค้าออนไลน์ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในช่องปี 1990 ซึ่งเติบโตเป็นเจ้าใหญ่ที่ทุกคนรู้จักกันดีอย่าง Amazon และ Alibaba แต่ทว่าในปัจจุบันในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2021 ประมาณ 56% ของสินค้าที่มีขายใน Amazon ก็ถูกขายโดยผู้ค้ารายอื่นแล้วเช่นกัน
- การจัดการห่วงโซ่อุปทานพัฒนามากยิ่งขึ้น
จากผลสำรวจพบว่า อีคอมเมิร์ซเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานเนื่องจากอายุของสินค้าแต่ละชิ้นสั้นลง ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิต
- เกิดการสร้างอาชีพใหม่
การจ้างงานในตลาดอีคอมเมิร์ซเพิ่มขึ้นกว่า 32% ในปี 2022 ซึ่งมากกว่าปี 2021 ที่เพิ่มขึ้นที่ 28% และกระทรวงแรงงานสหรัฐจะเพิ่มขึ้นอีกกว่า 13.4% ในช่วงปี 2020 - 2030
- รูปแบบของการซื้อของผู้บริโภคเปลี่ยนไป
อีคอมเมิร์ซเรียกได้ว่าปฏิวัติรูปแบบการซื้อในปัจจุบันไปโดยสิ้นเชิง ปัจจุบันมีผู้ซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์กว่า 2.14 พันล้านคน คิดเป็น 27.6% ของประชากรโลก และมีการคาดการณ์ว่าในปี 2025 ผู้ซื้อในสหรัฐอเมริกาจะพุ่งสูงถึง 291.2 ล้านคนในประเทศเดียว
ข้อดีของอีคอมเมิร์ซ คืออะไรบ้าง?
อีคอมเมิร์ซมีข้อดีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นทำให้การขายรวดเร็วขึ้นและเข้าถึงลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาดูกันดีกว่าว่ามีอะไรอีกบ้าง
- ลูกค้าซื้อได้เร็วกว่าเดิม
อีคอมเมิร์ซทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงร้านค้าได้จากทุกที่ทุกเวลา นั่นหมายความว่าลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าที่ตัวเองต้องการได้ทันที ยิ่งไปกว่านั้นด้วยบริการขนส่งที่เร็วยิ่งขึ้น ยังทำให้ลูกค้าได้รับของอย่างรวดเร็วอีกด้วย
- ธุรกิจหาลูกค้าใหม่ได้ง่ายยิ่งขึ้น
ข้อดีอีกข้อของอีคอมเมิร์ซ คือช่วยให้ธุรกิจสามารถหาลูกค้าใหม่จากทั่วทั้งโลกได้ง่ายยิ่งขึ้น เพราะร้านค้าออนไลน์เข้าถึงได้จากทุกที่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับทำเล สถานที่ หรือภูมิประเทศ
- ประหยัดค่าดำเนินการ
ไม่จำเป็นต้องมีพนักงานหน้าร้าน อีคอมเมิร์ซช่วยให้ธุรกิจสามารถทำงานได้โดยจ่ายค่าดำเนินการเพียงเล็กเท่านั้น และเมื่อยอดขายเพิ่มมากขึ้นแบรนด์ก็ยังสามารถขยายธุรกิจได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องจ่ายทีมงานจำนวนมาก
- เชื่อมโยงกับประสบการณ์ส่วนบุคคล
ด้วยความช่วยเหลือจากระบบอัตโนมัติและโปรไฟล์ของลูกค้าจำนวนมาก ธุรกิจสามารถแสดงสินค้าที่เหมาะกับคน ๆ นั้นผ่านประวัติการสั่งซื้อได้ ทำให้ลูกค้ารู้สึกได้ว่าธุรกิจนี้เข้าใจในสิ่งที่เขาต้องการจริง ๆ
- เข้าถึงเทคโนโลยีใหม่
ร้านค้าแบบดั้งเดิมจะมีตัวเลือกจำกัดเมื่อมีเทคโนโลยีใหม่เข้ามา ไม่สามารถเปลี่ยนได้ทันที แต่สำหรับอีคอมเมิร์ซ สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีล่าสุดได้ทันทีผ่านแค่ปลายนิ้ว ซึ่งสามารถทำให้การดำเนินการในส่วนต่าง ๆ นั้นทำได้อย่างไหลลื่นมากยิ่งขึ้น
ข้อจำกัดของอีคอมเมิร์ซ คืออะไรบ้าง?
ถึงแม้ว่าอีคอมเมิร์ซจะเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับธุรกิจในปัจจุบัน แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีข้อจำกัดเลย มาดูกันดีกว่าว่าข้อจำกัดของอีคอมเมิร์ซ คืออะไรบ้าง
- ปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อลูกค้าถูกจำกัด
เมื่อไม่ได้เจอตัวกัน บางครั้งก็เป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า แม้ว่าจะมีฐานข้อมูลคอยช่วยเหลือ แต่ก็เทียบไม่ได้เลยกับการพูดคุยกับลูกค้าโดยตรงผ่านทางหน้าร้าน
- เทคโนโลยีที่มีปัญหาส่งผลกระทบต่อการขาย
ในกรณีที่เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซทำงานช้าหรือเว็บล่ม จะส่งผลต่อการขาย ซึ่งอาจทำให้ลูกค้าได้รับประการณ์ที่ไม่ดีในการสั่งซื้อและสูญเสียความสัมพันธ์กับลูกค้าได้
- ลูกค้าไม่มีโอกาสได้ลอง
สำหรับลูกค้าที่อยากลองสินค้า อย่างเช่นเสื้อผ้า รองเท้าหรือผลิตภัณฑ์ความงาม ก่อนจะซื้อ อีคอมเมิร์ซจะไม่สามารถตอบโจทย์ในส่วนนี้ได้ หรือทำได้จำกัด
อนาคตของอีคอมเมิร์ซ
ตลาดอีคอมเมิร์ซกำลังเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ในปี 2021 ยอดขายจากอีคอมเมิร์ซสูงถึง 18.1% ของยอดขายจากร้านค้าทั่วโลก ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าอีคอมเมิร์ซกำลังเข้ายึดส่วนแบ่งการตลาดจากธุรกิจแบบดั้งเดิมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในทุกวินาที เป็นข่าวดีสำหรับใครก็ตามที่กำลังมองหาโอกาสในการเริ่มธุรกิจออนไลน์ เนื่องจากยอดขายมีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับการแข่งขันที่ก็เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน
ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อมีการพัฒนาของเทคโนโลยีความจริงเสมือน (VR) หรือ ความเป็นจริงเสริม (AR) เข้ามาใช้กับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เพื่อเพิ่มประสบการณ์ในการซื้อให้กับลูกค้า ในอนาคตร้านค้าอาจสามารถให้ลูกค้าลองใช้สินค้าก่อนซื้อได้อีกด้วย
FAQs
อีคอมเมิร์ซจะเติบโตหรือไม่?
อีคอมเมิร์ซจะเติบโตขึ้นอย่างแน่นอน ก่อนเหตุการณ์ระบาดของ Covid-19 อีคอมเมิร์ซก็มีการเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไปในทุกปีอยู่แล้ว แต่เหตุการณ์ล็อกดาวน์ที่เกิดขึ้นยิ่งทำให้ตลาดอีคอมเมิร์ซทั่วโลกเติบโตแบบก้าวกระโดด จากสถิติโดยเว็บไซต์ Statista พบว่ามูลค่าในตลอดอีคอมเมิร์ซเติบโตสูงถึง 14.56% และจะทำให้มูลค่าในตลาดพุ่งสูงถึง 1.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี 2025
ฉันจะเริ่มต้นธุรกิจอีคอมเมิร์ซได้อย่างไร
มีหลายวิธีในการเริ่มธุรกิจอีคอมเมิร์ซ แต่เรามีวิธีการที่อยากแนะนำดังนี้
- มองหาสิ่งที่ขาดหายไปในตลาด
- วางแผนธุรกิจ
- สร้างเว็บไซต์สำหรับอีคอมเมิร์ซ
- โฆษณาเว็บไซต์ออกไป
- ติดตามผลกับลูกค้า
- เรียนรู้และกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในสินค้าและบริการของคุณ
อีคอมเมิร์ซปลอดภัยหรือไม่?
ปลอดภัยแน่นอน ปัจจุบันอีคอมเมิร์ซปลอดภัยกว่าเมื่อก่อนมาก ด้วยความช่วยเหลือจากระบบความปลอดภัยแบบหลายชั้น ซึ่งได้รับการยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญมากมาย ทำให้ปัจจุบันการซื้อขายออนไลน์ดำเนินไปได้อย่างปลอดภัย